ปัจจัยที่ทำให้งานทัศนศิลป์ของไทยมีความแตกต่างกัน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา ความเชื่อ และสังคมวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดรูปแบบผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะของชาติและท้องถิ่นตามลำดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นและคนในชาติควรภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
1.ลักษณะรูปแบบงานศิลป์ของชาติ
งานทัศนศิลป์ของชาติ หมายถึง ศิลปะที่ถูกถ่ายทอดและสร้างขึ้นโดยช่างจากราชสำนักหรือช่างหลวงโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้สื่อ วัสดุ กรรมวิธี ช่วงเวลา และพัฒนาการทางศิลปะในแต่ละยุคสมัย ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากผลงานทัศนศิลป์ในแต่ละประเภท ดังนี้
1.1.จิตรกรรม คือ การแสดงออกด้วยการใช้สี โดยทั่วไปมีลักษณะทางกายภาพเป็น 2 มิติ การแสดงออกของผลงานจะใช้สีหรือทำด้วยกรรมวิธีอื่นๆ ให้เกิดภาพบนแผ่นวัสดุ
1.2.ประติมากรรม คือ งานทัศนศิลป์ที่แสดงด้วยรูปทรงที่มีลักษณะทางความงาม มีคุณสมบัติในกาสะเทือนอารมณ์ หรือกระตุ้นความคิดโดยทั่วไปเป็นภาพแบบ 3 มิติ
1.3.สถาปัตยกรรม คืองานทัศนศิลป์การก่อสร้างซึ่งความงามเกิดจากลักษณะรูปทรง การจัดที่ว่างทั้งภายนอกและภายในเป็นงาน 3 มิติ เช่นเดียวกับประติมากรรม โดยสถาปัตยกรรมไทยแบ่งออกเป็น 2 ประภท ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบปิด และสถาปัตยกรรมแบบเปิด
2.ลักษณะรูปแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่น
งานทัศนศิลป์ท้องถิ่น หมายถึง ศิลปกรรมในสาขาภูมิปัญญาไทยทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของท้องถิ่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน ได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
2.1.จิตรกรรมท้องถิ่น คือ
2.2.ประติมากรรมท้องถิ่น
2.3.สถาปัตยกรรมท้องถิ่น
3.งานทัศนศิลป์ในแต่ละภูมิภาค
3.1.ภาคเหนือ ได้รับอิทธิพลมาจากสมัยเชียงแสน ประติมากรรมที่พบจะเป็นพระพุทธรูป ซึ่งมีความร่วมสมัยกับสุโขทัยและทั้งได้รับอิทธิพลจากพม่ามาผสมผสานกัน
3.3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเป็นผลงานทางด้านพระพุธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และเชื่อกันว่าศาสนาดังกล่าวเริ่มเข้ามาในประเทศไทยทางฝั่งแม่น้ำโขง จึงพบเห็นผลงานศิลปะในรูปแบบทางศาสนาแบบ ทวารวดี เขมร ลาว เป็นต้น